Sunday, September 24, 2017

เรื่องใหม่วันนี้
๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ : หนังสือเล่ม ๑ (ตอน ๓)

ความบันดาลใจ

ผู้เขียนรู้สึกตลอดเวลาที่ส่องดูพระสมเด็จของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ว่าพิมพ์ทรงของท่านเป็นงานศิลปะที่ควรได้รับการศึกษาถึงความสวยงามและพุทธลักษณะไม่ต่างจากการศึกษาศิลปะของพระพุทธรูปหรือพระบูชา
ดูพระสมเด็จต้องดูที่ศิลปะก่อน ไม่ใช่ดูอย่างที่สอนกันในหนังสือพระสมเด็จทุกเล่มที่ดูเหมือนจะจับผิดหรือหาสิ่งผิดปกติในพิมพ์
แบบที่เรียกกันว่า “ตำหนิ” ของพระแต่ละพิมพ์ ซึ่งเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง เป็นการจาบจ้วงถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไร้ซึ่งราคิน และไม่ยกย่องให้เกียรติช่างผู้แกะพิมพ์

เพราะ “ตำหนิ” มีอีกความหมายว่า “ติ” หรือ “ติเตียน”

ศิลปะของพระสมเด็จเริ่มจากพุทธศิลป์ ก่อนจะไปที่เอกลักษณ์ของพิมพ์ทรงที่แยกไปตามลักษณะขององค์พระ ฐาน และเส้นซุ้ม เป็นพิมพ์ชื่อต่างกัน เช่น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เจดีย์ พิมพ์เส้นด้าย จนถึงลักษณะเฉพาะตัวของพิมพ์นั้นอันสื่อถึงศิลปะเชิงช่างของผู้แกะพิมพ์ และเป็นอัตลักษณ์เกี่ยวกับร่องรอย รายละเอียด อันเป็นเอกลักษณ์ของช่างแต่ละคน เหมือนเป็นลายเซ็นของช่างคนนั้น

แต่การศึกษาแค่ศิลปะอย่างเดียวยังไม่พอ
ต้องศึกษาให้ลึกลงไปถึงจิตวิญญาณหรือเบื้องหลังของศิลปะชิ้นนั้น ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ลงไปเรื่อย ๆ เป็นชั้น ๆ จนถึงเบื้องลึกที่สุดที่จุดนั้นไม่ใช่ความลับอีกต่อไป
หากเป็นความเข้าใจ ความรู้แจ้ง ความรู้จริง

แรงบันดาลใจของผู้เขียนเป็นไปตามอมตวจีของคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ชาวเยอรมันชื่อ ลุดวิก วาน บีโธเฟน ที่ผู้เขียนนำมาลงไว้ในหนังสือ เล่ม ๑ ดังนี้

Don’t only practice your art,
but force your way into its secrets;
for it and knowledge can
raise man to the Divine.
Ludwig van Beethoven
อย่าเพียงแค่ทำงานศิลปะ
จงมานะไขความลับในงานศิลป์
เพื่อความลับความรู้ลือระบิล
ยกตนสู่ถิ่นฟ้าสุราลัย
ลุดวิก วาน บีโธเฟน

ผู้แต่งซิมโฟนีหรือดนตรีคลาสสิกที่มีหลายท่อน ท่านแต่งซิมโฟนีไว้ทั้งหมด ๙ ชุดด้วยกัน โดยซิมโฟนีชุดที่มีชื่อเสียงที่สุด คือชุดตรงกลาง และชุดสุดท้าย
นั่นคือ ซิมโฟนีหมายเลข ๕ และซิมโฟนีหมายเลข ๙
ลองฟังดูนะครับ หมายเลข ๕ เป็นความเร้าใจ ดุเดือด เลือดพล่าน ส่วนหมายเลข ๙ เป็นความสดชื่น สดใส สนุกสนาน ตามลิงค์ข้างล่างนะครับ
วาทยกร หรือ Conductor เป็นชาวเวเนซูเอลา ชื่อ Gustavo Dudamel เขาดังที่สุดในเวลานี้ แต่ละซิมโฟนีอาจยาวหน่อย แต่ถ้าดูให้จบจะได้อรรถรส

1. Symphony # 5
Ludwig van Beethoven - Symphony No. 5 | Gustavo Dudamel [HD]
https://www.youtube.com/watch?v=OGnBrabqdP4&list=RDWCBrYzvCt_8&index=2  

2. Symphony # 9
ท่อนที่ ๔ หรือ 4th movement เพราะมาก มีการร้องประสานเสียงซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการนำนักร้องประสานเสียงมาร้องในเพลงซิมโฟนี
Elbphilharmonie LIVE | Gustavo Dudamel, Beethoven 9th Symphony
https://www.youtube.com/watch?v=WCBrYzvCt_8

(จบตอน ๓)

.................................................................


No comments:

Post a Comment