Wednesday, May 30, 2012

วิธีดูพิมพ์หลวงวิจารณ์ (Thai)_30 พค 2555

สวัสดีท่านผู้อ่าน

วันนี้ขอยืมโน้ตบุ้คเพื่อนที่ลอสแองเจลลิส ก่อนจะขึ้นเครื่องกลับเมืองไทยวันพรุ่งนี้
โพสต์ครั้งต่อไปอาจเป็นอีกสามสี่วัน เพราะกลับเมืองไทยจะขาดทุนเวลาไปหนึ่งวัน

ขอเล่าถึงวิธีดูพระสมเด็จว่าใช่พิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัยหรือไม่ คงพูดไปเรื่อย ๆ ให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ขณะคอยว่ามีท่านใดจะให้ความเห็นบ้างว่าเอกลักษณ์พิมพ์หลวงวิจารณ์ว่าเป็นอย่างไร

การเรียนรู้ทุกอย่างต้องมีหลัก แบบที่เรียกว่าต้องรู้ "หัวใจ"ของเรื่องนั้น ๆ
พระสมเด็จก็เช่นกัน
ท่านจะมีความรู้เรื่องพิมพ์ของหลวงวิจารณ์ได้ ท่านต้องมีภาพในใจให้เห็นหลวงวิจารณ์เป็นตัวเป็นตน ไม่ใช่คนในตำนานที่อ่านเจอ
โดยเฉพาะตอนหลวงวิจารณ์แกะแม่พิมพ์
- ท่านทำอย่างไร
- เริ่มต้นแกะพิมพ์จากไหน
- กรอบกระจกที่เห็นเส้นบังคับพิมพ์มีส่วนเกี่ยวข้องตรงไหน
- ท่านถนัดซ้ายหรือถนัดขวา
- แรงบันดาลใจที่ผลักดันให้มือของช่างหลวงรังสรรค์งานได้อย่างไร

ครั้งหน้าจะบอกให้รู้ว่าพระสมเด็จองค์นี้ มีคุณสมบัติเข้ากับภาพที่เห็นในใจเกี่ยวกับหฃลวงวิจารณ์อย่างไร

3 comments:

  1. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  2. 1. ใช้แผ่นไม้ขนาดใหญ่กว่าองค์พระที่เราเห็นเล็กน้อย
    2. เริ่มแกะพิมพ์จากด้านล่างซ้ายมือของตัวท่านเองวนขึ้นตามเข็มนาฬิกา อาจมีการหมุนแม่พิมพ์ไปเรื่อยๆ ตอนแต่งพิมพ์ และมีการแกะในแนวขวางองค์พระด้วยมือซ้ายจึงเกิดการโหย่งมือในการแกะพิมพ์บาง จุด
    3. กรอบกระจกคือแนวการตัดแบบให้ได้ขนาดพอเหมาะ หากมีการแต่งขอบที่ไม่ดีนักจะเหลือร่อง ทำให้เมื่อกดพิมพ์พระเกิดเป็นเส้นนูนเล็กๆ
    4. ถนัดซ้าย
    5. ตามพุทธลักษณะ พระเกศแหลม หูยาน ตามองต่ำ ตามแบบของพระพุทธรูป

    PS. ท่านอาจจะสายตาเอียงด้วยก็ได้นะครับ

    แวะมาเยี่ยมเยียนและขอบพระคุณพี่วิภัชภาทีที่ให้ความเห็นเรื่องพระของกระผมเมื่อคืนก่อนครับ ^^

    ReplyDelete
  3. 1.ร่างแบบเป็นเส้นบางๆรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนแม่พิมพ์ จากนั้นร่างเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่ใช้สำหรับแกะเป็นรูปองค์พระ และฐานต่างๆ ร่างรูปองค์พระและฐานแต่ละชั้นบางๆ ลงมือแกะองค์พระและฐานพอเสร็จ ก็ลงมือแกะซุ้มครอบแก้ว
    2.แกะที่องค์พระก่อน
    3.เป็นเส้นที่ใช้ร่างบังคับไว้ เวลาที่แกะรูปองค์พระจะทำให้เกิดความสมดุลย์ซ้าย-ขวา
    4.ถนัดด้านซ้าย
    5.ศิลปะในองค์ประประติมาในสกุลต่างๆ สมัยเชียงแสน ,สมัยสุโขทัย ,สมัยอู่ทอง, อยุธยา, รัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปองค์พระประธานในโบสถ์ วัดระฆัง องค์พระแก้วมรกต

    ReplyDelete